คลังจี้ธปท.คิดให้หนักขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

จัดทำบทควาโดย นายฐิติพงษ์ กิจวรเกียรติ
5003100123


คลังจี้ธปท.คิดให้หนักขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
07 กรกฎาคม 2553 เวลา 11:29 น.

"กรณ์" ออกโรงเตือน ธปท. คิดให้รอบคอบก่อนขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสกัดเงินเฟ้อสูง หวั่นกระทบการขยายตัวเศรษฐกิจ ที่กำลังเจอมรสุมของประเทศคู่ค้าทรุด

นายกรณ์ จาติกวณิช กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่เริ่มสูงขึ้น เป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม แม้ว่าเศรษฐกิจไทยดีในช่วงครึ่งปีแรก แต่แนวโน้มต่อไปมีความเสี่ยง ที่พึ่งพาเศรษฐกิจคู่ค้า ที่ไทยเคยเจอปัญหาที่ประเทศคู่ค้ามีปัญหา ทำให้การส่งออกหดตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยไปหลายไตรมาส ตอนนี้ก็มีสัญญาณน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าของไทยในส่วนของประเทศยุโรปที่มีนโยบายที่จะทำให้การ ขยายตัวเศรษฐกิจชะลอตัวลง

นายกรณ์ กล่าวว่า กนง. มีข้อมูลนี้ และน่าจะนำไปประกอบการตัดสินใจเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมหรือเปล่า ตอนนี้มีแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อมากขนากไหน ควรปรับอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้อีกหรือไม่

อย่างไรต้องยอมรับว่า อัตราดอกเบี้นนโยบายของไทยอยู่ต่ำมาก หากมีการปรับขึ้นเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่ดี ไม่กระทบต้นทุนของผู้ประกอบการแต่อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาการตัดสินใจของ กนง. เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และคิดว่าไม่เคยมีอุปสรรคใรการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล

ที่มา : http://www.posttoday.com/

คำถาม
1. กนง. คืออะไรมีหน้าทีอะไร
2. ดอกเบี้ยนโยบายของ ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเท่าไร
3. การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นนโยบายการเงินแบบใด

ตลาดตราสารอนุพันธ์

จัดทำบทความโดย นายอัครกฤษ เจริญภักดี
เลขทะเบียน 5003100113

ตลาดตราสารอนุพันธ์ (Derivative Market)

ตราสารอนุพันธ์ เป็นสัญญาทางการเงินระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป เพื่อตกลงกันที่จะซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงในปัจจุบัน แต่มีการส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงและชำระราคาในอนาคต สินทรัพย์อ้างอิงได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ เงินตราต่างประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ (สินค้าทางการเกษตร น้ำมัน ทองคำ) ตลาดตราสารอนุพันธ์แบ่งลักษณะ ของสัญญาเป็น 4 ประเภท

1. Forward

คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขาย สินทรัพย์ อ้างอิง โดยตกลงราคากันในวันนี้ เพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต การตกลงซื้อขาย Forward เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดสถาน ที่ (Over-the-Counter: OTC) และมีการกำหนดรายละเอียดของสัญญาตามความต้องการ ระหว่าง ผู้ซื้อกับผู้ขาย

2. Futures

คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ซึ่ง ประกอบไปด้วยผู้ซื้อกับผู้ขาย ตกลงซื้อขายสินทรัพย์ อ้างอิง โดยตกลงราคากันในวันนี้ เพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต การตกลงซื้อขาย Futures เกิดขึ้นในตลาดที่เป็นทางการ (Exchange) และ มีการกำหนดรายละเอียดของสัญญาเป็นแบบมาตรฐาน


Forward Contract

Futures Contract

- ไม่มีการกำหนดมาตรฐานของสัญญา

- มีการกำหนดมาตรฐานของสัญญาอย่าง

สาระสำคัญของสัญญาเป็นไปตาม

ความตกลงของคู่สัญญา 2 ฝ่าย

ชัดเจน เช่น ขนาดของสัญญา สินทรัพย์

อ้างอิง วันหมดอายุ

- การซื้อขายเป็นแบบ OTC

- การเปลี่ยนมือ หรือเลิกสัญญา

ทำได้ค่อนข้างยาก

- การซื้อขายทำใน Exchange

- การเปลี่ยนมือ หรือเลิกสัญญา

ทำได้ค่อนข้างง่าย

3. Option

เป็น สัญญาที่ให้สิทธิแบบไม่ผูกมัดกับผู้ถือ Option ในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิงตามราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา (Exercise Price) ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา Option แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. สิทธิซื้อ (Call Options)

คือ สัญญาที่ให้สิทธิผู้ซื้อในการ ซื้อ สินทรัพย์อ้างอิง จากผู้ขายตามจำนวน ราคาและภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

2. สิทธิขาย (Put Option)

คือ สัญญาที่ให้สิทธิผู้ซื้อในการ ขาย สินทรัพย์อ้างอิง ให้แก่ผู้ขายตามจำนวน ราคาและภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

4. Swap

เป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตระหว่าง คู่สัญญา โดยมีสถาบันการเงิน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างการแลกเปลี่ยน เช่น สัญญาสวอปอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap) เป็นสัญญา ทางการเงินที่คู่สัญญาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนภาระการชำระดอกเบี้ยให้แก่กัน ภายในระยะเวลาที่กำหนด สัญญา สวอปเงินตราต่าง ประเทศ (Currency Swap) เป็นสัญญาในการแลกเปลี่ยนเป็นสกุลหนึ่งกับเงินอีก สกุลที่อ้างอิง

ตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยมี 2 แห่ง คือ

1.ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (The Agricultural Futures Exchange of Thailand) เปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2547 สินค้าตัวแรกที่เปิดซื้อขาย คือ ยางพาราแผ่นรมควันชั้น 3 และมีสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่เปิดซื้อขายตามมา คือ ข้าวขาว 5% และแป้งมันสำปะหลัง

2. บริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Thailand Futures Exchange) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยเป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ คาดว่าใน ปี พ.ศ. 2549 สินค้าตัวแรกที่จะเปิด ซื้อขายในบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) คือ SET 50 Index Futures

ที่มา : http://www.fizones.com/article/dr3.htm

คำถาม
1. ตลาดตราสารอนุพันธ์แบ่งตามลักษณะ เป็นกี่ประเภท
2. ในประเทศไทย มีตลาดอนุพันธ์กี่แห่ง
3. สัญญาชนิดใดให้สิทธิในการไม่ผูกมัดกับผู้ถือ ในการซื้อ หรือขาย สินทรัพย์อ้างอิง